เมนู

คือวิชชาให้เกิด ย่อมยังแสงสว่างคือญาณให้รุ่งโรจน์ และย่อมทำอริยสัจจะ
ทั้งหลายให้ปรากฏ มหาบพิตร ปัญญามีการส่องสว่างเป็นลักษณะด้วย
ประการฉะนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล
และอกุศล ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ที่เลวและประณีต ทีดำและขาว และ
ที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ เหมือนแพทย์ผู้ฉลาดย่อมรู้เภสัชเป็นต้นที่เป็นที่
สบายและไม่สบายแก่บุคคลผู้ป่วย ฉะนั้น. สมดังคำพระธรรมเสหาบดีกล่าว
ไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส ธรรมชาติใดย่อมรู้ทั่ว เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้น
จึงชื่อว่า ปัญญา. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วว่า นี้ทุกข์
เป็นต้น ข้อความนี้บัณฑิตพึงให้พิสดาร. พึงทราบความที่ปัญญานั้นมีความรู้
ทั่วเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง ปัญญามีการแทงตลอดสภาวะเป็นลักษณะ หรือการแทง
ตลอดไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะดุจการแทงของลูกศรที่นายขมังธนูผู้ฉลาดยิงไป
ฉะนั้น มีการส่องให้เห็นอารมณ์เป็นรสดุจประทีป มีการไม่หลงใหลเป็น
ปัจจุปัฏฐานดุจผู้ชี้ทางแก่บุคคลไปมาฉะนั้น.

ความหมายของคำว่า มนินทรีย์



ธรรมที่ชื่อว่า มนะ เพราะย่อมรู้ คือย่อมรู้แจ้ง.
แต่ท่านอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่า มนะ เพราะย่อม
รู้อารมณ์ เหมือนบุคคลนับอยู่ด้วยทะนาน และเหมือนชั่งอยู่ด้วยชั่งใหญ่
ฉะนั้น. มนะนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่า
ธรรมอื่นในลักษณะแห่งความรู้. มนะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ จึงชื่อว่า มนินทรีย์.
มนะนี้เป็นคำไวพจน์ของจิตตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

ความหมายของคำว่า โสมนัสสินทรีย์



บุคคลชื่อว่า สุมนะ เพราะมีใจงาม เพราะสัมปโยคะด้วยปีติและ
โสมนัส ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีใจงาม ชื่อว่า โสมนัสสะ โสมนัสสะนั้น
ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะแห่งความ
ยินดี. โสมนัสสะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ โสมนัส-
สินทรีย์นี้เป็นไวพจน์ของเวทนาตามที่กล่าวแล้วในหนหลังแล.

ความหมายของชีวิตินทรีย์



ธรรมที่ชื่อว่า ชีวิต เพราะเป็นเหตุให้ธรรมที่สัมปยุตด้วยชีวิตินทรีย์
นั้นเป็นอยู่. ชีวิตนั้นชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่น
ในลักษณะแห่งการตามรักษา. ชีวิตนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์
ชีวิตินทรีย์นั้น เป็นอธิบดีในความเป็นไปและสืบต่อ. ก็เมื่อว่าโดยลักษณะ
เป็นต้น ชีวิตินทรีย์มีการตามรักษาธรรมที่เกิดแล้วโดยไม่เว้นตนเป็นลักษณะ
มีการเป็นไปแห่งสัมปยุตธรรมเหล่านั้นเป็นรส มีการดำรงอยู่แห่งสัมปยุตต-
ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน มีธรรม (คือ เวทนา สัญญา
วิญญาณ) ที่เป็นอยู่เป็นปทัฏฐานะ เมื่อการทรงไว้มีการตามรักษาเป็นต้น
แม้มีอยู่ ชีวิตินทรีย์ก็ย่อมตามรักษาธรรมในขณะที่มีอยู่เท่านั้น เหมือนน้ำ
ตามรักษาอยู่ซึ่งดอกอุบลเป็นต้น และย่อมรักษาธรรมทั้งหลายอันเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัยตามความเป็นของตนดุจแม่นมเลี้ยงดูกุมาร และเป็นไปโดยสัมพันธ์กับ
ธรรมที่ตนให้เป็นไปดุจต้นหนยังเรือให้แล่นไป ชีวิตินทรีย์นั้นให้เป็นไปเหนือ
ภังคขณะไม่ได้ เพราะความที่ตนและธรรมที่ตนให้เป็นไปไม่มี ย่อมไม่ตั้งอยู่